วันพฤหัสบดีที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2560

สมาชิกในห้อง

อาจารย์ ธภัทร ชัยชูโชค   อาจารย์ปาล์ม

1. นายเจษฎา เจริญรอย  อึ่งอ่าง
2. นายชัยพร มั่นคง   หัวแวว
3. นายชานุกฤต ศุภจันทะทัง  ประธาน
4. นายเชิงฉาย หนูนาค มิสเตอร์
5.นายทรงวิทย์ ยอดแก้ว  บ็อบบุ้บบิ้บ
6. นายธีรศานต์ สุขสบาย ธีหัวดอเน่า
7.นายเนติพงษ์ ปานนุ่ม ดิวขายชาติ
8. นายปรัตถกร บุญชด แบงค์เกงใน
9. นายพงษ์เพชร อินทรักษ์ เหลือก
10. นายพิษณุพงศ์ รองสวัสดิ์ สมาปี้ เคริกปี้ อ้ะแท่มๆ
11. นายภูศักดิ์ ดำนะกาฬิ แมงสาป
12. นายฤทธิพงษ์ ทองรักษ์ เจียมเจี้ยม
13. นายศิริศักดิ์ ว่องเจริญวัฒนา บ่าวดึงดาว
14. นายสิทธิเกียรติ เทียนชัย เป็ดแดง
15.นายสุรยุทธ จันทเขตร หัวจุก
16. นายอนุวัฒน์ ฟักแก้ว ฟักทอง
17. นายอภิรักษ์ ศิวรักษ์ โจ้ขายหมู
18. นายอริศ อินชุมแสง โค้ชไม่บาย
19. นายอารีฟีน เจ๊ะแอ ฟีฟ่า
20. นายอิมรอม ยามา    วางระเบิด            


หุ่นยนต์ในโรงงานอุตสาหกรรม


หุ่นยนต์ในโรงงานอุตสาหกรรม

หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม 2.0

ปัจจุบันในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่มีสายการผลิตด้วยเครื่องจักรกลประเภทหุ่นยนต์ซึ่งนับว่าเป็นเครื่องจักรกลอัตโนมัติในสายการผลิตที่จำเป็นอย่างยิ่งแต่หุ่นยนต์ในโรงงานเหล่านี้ยังแยกอยู่คนละแผนกหรือบริเวณกับมนุษย์อย่างชัดเจนทำหน้าที่ยกหรือประกอบของหนักทำงานซ้ำๆ กัน ตามคำสั่งที่โปรแกรมมันไว้ล่วงหน้าในขณะที่มนุษย์จะทำงานในส่วนที่ละเอียดอ่อนกว่าและอันตรายน้อยกว่า
แต่ในโรงงานแห่งอนาคต มันจะไม่เป็นอย่างนั้นเราจะเห็นมนุษย์กับหุ่นยนต์ทำงานเคียงคู่กัน และช่วยเหลือกันด้วยซ้ำหุ่นยนต์จะช่วยมนุษย์ทำงานในส่วนที่เกินความสามารถของมนุษย์ที่จะทำได้ เช่น งานประกอบที่เล็กและละเอียดจนมนุษย์ อาจจะเกิดข้อผิดพลาดได้ง่าย ยกตัวอย่างเช่น ในโรงงานผลิตเครื่องบินของ Boeingหุ่นยนต์ช่วยวิศวกรในการจัดเตรียมหาเครื่องมือและวัสดุที่ใช้ในการประกอบเครื่องบิน ทำให้ลดเวลาในการทำงานเพราะวิศวกรไม่ต้องเสียเวลาเดินไปหยิบชิ้นส่วนเหล่านั้นเองเพราะต้องยอมรับว่างานประกอบบางอย่างซับซ้อน และต้องการประสบการณ์ในการตัดสินใจแก้ปัญหาจึงเป็นการยากที่หุ่นยนต์จะทำงานเช่นนั้นได้แต่หุ่นยนต์สามารถเป็นผู้ช่วยหรือลูกมือที่ดีได้
นอกจากนี้หุ่นยนต์เหล่านี้ที่ทำงานร่วมกับมนุษย์ยังทำงานไม่เหมือนกันในแต่ละตัวในแต่ละสถานี โดยมันจะทำงานแตกต่างกันตามลักษณะการทำงานของวิศวกรแต่ละคนที่มันทำงานด้วยเพราะมันมีอัลกอลิธึมที่ทำให้มันสามารถเรียนรู้และปรับตัวในเข้ากับการทำงานของแต่ละคนทำให้มันสามารถทำนายและล่วงรู้หน้าว่า คนที่ทำงานกับมันจะทำอะไรต่อไป เรียกว่า รู้ใจและเข้าขากันเลยทีเดียว ตัวอย่างหุ่นยนต์ที่สามารถทำงานร่วมกับมนุษย์ในปัจจุบัน ได้แก่ FRIDA ซึ่งย่อมาจาก Friendly Robot for Industrial Dual-arm Assembly ซึ่งผลิตโดยบริษัท ABB ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มันเป็นหุ่นยนต์อเนกประสงค์ที่ไม่มีหัวหรือหน้า มีแต่สองแขนที่สามารถเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระแบบ 7 แกน มีมอเตอร์เซอโวที่สามารถทำให้มันจับสิ่งของด้วยความปราณีต มันสามารถเป็นหุ่นยนต์ผู้ช่วยได้เป็นอย่างดี มันสามารถขันน๊อตหรืออัดกาวเข้าไปในรูน๊อต ซึ่งเป็นขั้นตอนในการประกอบปีกเครื่องบินโบอิ้งแล้วให้วิศวกรเป็นคนตอกน๊อตเข้าไป หรือแม้แต่ในงานเกี่ยวกับการแพทย์ในโรงพยาบาล หุ่นยนต์ FRIDA ก็สามารถเป็นผู้ช่วยได้เป็นอย่างดี เช่น มันถูกใช้เพื่อเป็นผู้ช่วยของศัลยแพทย์ที่กำลังทำการผ่าตัดมันสามารถส่งเครื่องมือผ่าตัดให้แก่ศัลยแพทย์ได้อย่างถูกต้องแม่นยำความจริง FRIDA เป็นเพียงหนึ่งในหุ่นยนต์ที่หลายบริษัทผู้ผลิตหุ่นยนต์เพื่อการใช้งานในเชิงอุตสาหกรรมกำลังวิจัยและผลิตออกมาสู่ท้องตลาดรวมทั้งเจ้า Nextage ที่ผลิตโดยบริษัท Kawada Industries และ Motoman SDA10D ที่ผลิตโดยบริษัท Yaskawa ประเทศญี่ปุ่น มันจะเป็นหุ่นยนต์ที่เบากว่าปลอดภัยกว่า ง่ายต่อการโปรแกรมใช้งาน และที่สำคัญราคาถูกลงเราเรียกหุ่นยนต์พวกนี้ว่า หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม 2.0 (Industrial Robot 2.0)
นอกจากหุ่นยนต์ในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ (industrial robot) ที่เป็นมิตรกับมนุษย์สามารถทำงานเคียงคู่กับมนุษย์ในส่วนที่เกินความสามารถของมนุษย์ที่จะทำได้ เช่น งานที่ใช้พละกำลังมหาศาลหรือที่ต้องใช้ความละเอียดจนมนุษย์อาจทำแล้วเกิดข้อผิดพลาดได้ง่าย จะเป็นแนวโน้มของการผลิตในอนาคต (future of manufacturing) แนวโน้ม หรือ Trend ของวิทยาการหุ่นยนต์ในยุคต่อจากนี้ไปที่เราเรียกว่า ยุคหุ่นยนต์ 2.0 หรือ Robotics 2.0 นั้นยังมีอีกหลายแนวโน้ม
จากข้อมูลปรากฏในนิตยสาร IEEE Robotics & Automation ที่ตีพิมพ์ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2555 ที่ผ่านมา มีหลายแนวโน้มที่น่าสนใจ แต่แนวโน้มที่มาแรงที่สุดของปี 2555 นี้ เห็นทีจะเป็นหุ่นยนต์ที่สามารถอยู่อาศัยร่วมกับมนุษย์ (Co-inhabitant Robot) เช่น หุ่นยนต์ที่ช่วยเหลือผู้สูงอายุที่บ้านพักอาศัย หรือหุ่นยนต์ทำหน้าที่คอยช่วยเหลือมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นที่บ้านหรือทำงาน ซึ่งทางประเทศสหรัฐอเมริกาโดย National Robotics Initiative ได้ประกาศทุ่มเงินวิจัยมากถึง 2 พันล้านบาทเพื่อพัฒนาหุ่นยนต์ที่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์ได้อย่างลงตัว ซึ่งนอกจากหุ่นยนต์จะต้องมีสมองหรือระบบประมวลผลที่ฉลาดอย่างน่าทึ่งแล้ว มันต้องมีประสาทสัมผัสที่เหมือนมนุษย์หรือถ้าเป็นไปได้ต้องเหนือมนุษย์ด้วยซ้ำประสาทสัมผัสที่สำคัญที่สุดคือ ตา ทำหน้าที่รับรู้วัตถุและตำแหน่ง ปัจจุบันเทคโนโลยี Kinect ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเซนเซอร์ 3 มิติ ของ Microsoft สามารถทำหน้าที่นี้ได้อย่างดี ทดแทนกล้องแบบเดิมและการใช้ลำแสงเลเซอร์แบบกวาดเนื่องจากการใช้กล้องสองตัวทำงานเลียนแบบตามนุษย์โดยที่มันสามารถค้นหาและจดจำตำแหน่งของสิ่งที่มันมองเห็นและวัตถุที่เคลื่อนไหวเป็นแบบ 3 มิติ
ในเร็ว ๆ นี้คาดว่า เทคโนโลยี Kinect 2 จะสามารถอ่านริมฝีปากมนุษย์ได้ทำให้หุ่นยนต์เข้าใจคำสั่งจากปากมนุษย์โดยตรง นอกจากเทคโนโลยี Kinect แล้วยังมีการพัฒนาเทคโนโลยี Computational Camera ที่ชื่อว่า Lytro พัฒนาโดย ทีมนักวิจัยจาก Stanford University มันสามารถสร้างภาพ 3 มิติจากกล้องโดยคำนวณจากความเข้มของแสงและมุมตกกระทบของแสง นอกจากเทคโนโลยีเหล่านี้จะเป็นตาให้กับหุ่นยนต์แล้วมันยังช่วยให้หุ่นยนต์เรียนรู้วัตถุรอบๆตัวมันและเก็บเข้าสู่ระบบความจำ ทำให้มันฉลาดมากยิ่งขึ้นทุกวัน ๆ และนอกจากประสาทสัมผัสการมองเห็นแล้ว ประสาทสัมผัสอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญของหุ่นยนต์ ได้แก่ การสัมผัส(Tactile หรือ Touch)ยิ่งเมื่อหุ่นยนต์ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์ การสัมผัสของหุ่นยนต์ต้องนิ่มนวล (soft touch) ปกติการควบคุมแขนของหุ่นยนต์อาจจะใช้การควบคุมตำแหน่งของมอเตอร์อย่างแม่นยำแต่มันจะให้ความรู้สึกกระชากหรือกระตุก ดังนั้นต้องมีการใช้เซนเซอร์เพื่อรับรู้การสัมผัสเพิ่มเติมลงไปเพื่อส่งข้อมูลย้อนกลับไปยังมอเตอร์ได้แม่นยำมากยิ่งขึ้นหรือแม้แต่การใช้เซนเซอร์แบบเมมเบรนขนาดเล็กและบางแปะลงบนผิวของนิ้วมือและอุ้งมือของหุ่นยนต์เพื่อรับรู้ถึงแรงสัมผัส เพื่อให้หุ่นยนต์สามารถปรับแรงสัมผัส ให้เหมาะสมและนิ่มนวลมากขึ้น แม้กระทั่งหยิบไข่ได้อย่างสบาย นอกจากนี้นิ้วของหุ่นยนต์ยุคใหม่ยังมีลักษณะนิ่มและยืดหยุ่นเหมือนผิวหนังของมนุษย์อีกด้วย
นอกจากประสาทสัมผัสจะเป็นสิ่งสำคัญสำหรับแนวทางการพัฒนาหุ่นยนต์ในยุค 2.0 แล้ว ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะทำให้หุ่นยนต์ในยุคหน้าฉลาดมากขึ้น นั่นคือ สมอง หรือความสามารถในการประมวลผล (processing) และจดจำ (memorizing) ซึ่งในปัจจุบันความเร็วของชิปประมวลผลคอมพิวเตอร์มีสูงมากกว่าเดิมมาก ทำให้หุ่นยนต์สามารถทำงานที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้นและมีความสามารถในการตัดสินใจด้วยตัวเอง (ตามที่มนุษย์เคยสอนเอาไว้) และมากกว่านั้นมันอาจจะเรียนรู้ (learning) จากประสบการณ์ที่มันเจอได้อีกด้วย ซึ่งต้องอาศัยหน่วยความจำขนาดใหญ่ แต่เนื่องจากขนาดอันจำกัดของมันจะเอาคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ไปใส่ไว้ให้มันแบกไว้ก็ไม่ได้ ดังนั้นจึงมีการพัฒนาเทคโนโลยี Cloud Robot ซึ่งพึ่งพาความก้าวหน้าของเทคโนโลยี Cloud Computing ทำให้หุ่นยนต์สมัยใหม่สามารถทำงานที่ต้องอาศัยการประมวลผลสูง ๆ และหน่วยความจำขนาดมหาศาลบน Cloud Sever ผ่านการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เช่น การประมวลผลเชิงภาพ (image processing) หรือการประมวลผลเสียง (voice processing) เป็นต้น นอกจากนี้มันยังสามารถดึงเอาข้อมูลออกมาจากหน่วยความจำบน Remote Server เช่น ข้อมูลรูปภาพ ข้อมูลการตัดสินใจหรือแม้แต่ความสามารถที่มันไม่เคยมีมาก่อนมาใช้ได้ทันที บริษัท Google กำลังทุ่มเทวิจัยในเรื่องนี้อยู่ เรียกได้ว่า จะได้เห็นหุ่นยนต์ทุกตัวสามารถใช้ข้อมูล Google Map บน Server ของ Google เพื่อการนำทาง และในยุโรป มีโครงการ RobotEarth เป็นโครงการที่พยายามสร้าง World Wide Web for Robot หมายถึง สร้างให้หุ่นยนต์ทุกตัวเชื่อมต่อถึงกันบนเครือข่าย Cloud ขนาดใหญ่ เพื่อให้หุ่นยนต์ทุกตัวสามารถแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุ รูปภาพ สภาพแวดล้อม และแบ่งหน้าที่กันได้ เช่น เมื่อหุ่นยนต์เห็นวัตถุที่ไม่เคยรู้จัก ก็จะส่งภาพวัตถุที่เห็นนั้นไปยัง Cloud เพื่อค้นหาในฐานข้อมูลว่าวัตถุนั้นมันคืออะไร เมื่อพบแล้วก็จะส่งข้อมูลโมเดล 3 มิติเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์กลับมายังหุ่นยนต์คล้ายกับเวลาที่เราต้องการค้นหาข้อมูลด้วยโปรแกรม Goggle ของ Google เราก็เพียงถ่ายรูปสิ่งนั้นด้วยโทรศัพท์มือถือแล้วค้นหาข้อมูลได้เลยว่ามันคืออะไร

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า Cloud Robotไม่ต้องอาศัยคอมพิวเตอร์ประมวลผลสูงก็สามารถทำงานได้โดยอาศัยเพียงชิปคอมพิวเตอร์ที่อยู่บนโทรศัพท์มือถือแบบ Smart Phone ปกติเท่านั้น นอกจากข้อมูลวัตถุสิ่งของ หน้าตา และเสียงของมนุษย์ก็สามารถถูกบันทึกโดย Cloud Robotและทำให้หุ่นยนต์รู้จักเราได้และมีปฏิสัมพันธ์กับเราได้อย่างไม่เคอะเขิน ล่าสุดได้มีหุ่นยนต์ขนาดเท่าเด็ก มีชื่อเรียกว่า iCub ถูกผลิตออกมาเพื่อให้สามารถ Download ข้อมูลการทำงาน เช่น การทำพิซซ่า ผ่านทางอินเทอร์เน็ต มันก็จะมีความสามารถทำพิซซ่าได้ในทันที เป็นต้น
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า หุ่นยนต์ในยุค 2.0 นั้น มันจะมีขนาดที่เล็กลง เบาลง ใช้พลังงานน้อยลง แต่มันจะฉลาดมากยิ่งขึ้นอย่างแน่นอน
https://www.youtube.com/watch?v=mTDzZvy0KYU&t=1s

หุ่นยนต์กู้ระเบิด
ต้นแบบหุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิด
             ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับทุนสนับสนุนงานวิจัยฯ แก่หน่วยงานวิจัยฯ จากสำนักคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ (วช.)     เพื่อสร้างต้นแบบหุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิดที่สามารถใช้งานได้จริง และได้แล้วเสร็จตัวหุ่นยนต์ต้นแบบไป เมื่อ เดือนพฤษภาคม 2550      
             หลักการทำงานของหุ่นยนเก็บกู้ระเบิดพื้นฐานในการตรวจและเก็บกู้ระเบิดทั่วๆ ไป คือ การรับ-ส่งภาพและหรือเสียง คีบจับทำลายวัตถุต้องสงสัยแล้ว และมีระบบการควบคุม 2 ระบบ คือระบบการใช้สาย LAN (Local Area Network) และระบบไร้สาย (Wireless LAN) หุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิดนี้ นอกจากจะมีสมรรถนะพื้นฐานทั่วไปแล้ว หน่วยวิจัยฯ ยังได้มีการปรับปรุงแก้ไขการพัฒนาระบบต่างๆ ติดตั้งเพิ่มเติม เพิ่มเติมตามความต้องการของผู้ใช้งาน เช่น
  • อุปกรณ์ติดตั้งปืนฉีดน้ำแรงดันสูง สำหรับทำลายวัตถุต้องสงสัย
  • อุปกรณ์การควบคุมเส้นทางและเข็มทิศอิเล็กทรอนิกส์  
  • อุปกรณ์การพัฒนาการเก็บและแสดงข้อมูลการเคลื่อนที่ของแขนกล  
  • อุปกรณ์การพัฒนาให้มือจับของตัวหุ่นยนต์สามารถบอกแรงที่ใช้จับวัตถุได้ (Force Sensor)  
  • อุปกรณ์การส่งข้อมูลและภาพกลับมายังคอมพิวเตอร์ควบคุมด้วยกล้อง 3 มิติ  
  • อุปกรณ์ติดตั้งเพื่อกวาดตะปูเรือใบ
  • อุปกรณ์ตรวจจับโลหะ เพื่อการสำรวจวัตถุระเบิดที่ฝังในใต้ดิน
  • อุปกรณ์ x-ray
  • อุปกรณ์ตรวจสอบวัตถุระเบิด
             สำหรับจุดเด่นของหุ่นยนต์ที่ทีมนักวิจัยได้สร้างขึ้น คือ การใช้อุปกรณ์ที่มีในประเทศ ทำให้สะดวกต่อการบำรุงดูแลรักษารวมทั้งแก้ปัญหาเองได้ ลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ  หากหุ่นยนต์โดนระเบิดทำลายหรือได้รับความเสียหายจากการปฏิบัติงาน สามารถนำกลับมาเพื่อประกอบใหม่ใช้งานรวมทั้งราคาถูกกว่าหุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิดที่นำเข้าจากต่างประเทศ  
             หลังจากนำไปให้ผู้ปฏบัติงานได้ทดลองใช้งานจริงอย่างไม่เป็นทางการเพื่อการปรับปรุงให้เหมาะสมตามความต้องการของผู้ใช้งานไปแล้ว  และได้มีพิธีมอบหุ่นยนต์ชุดแรกอย่างเป็นทางการให้กับ ศูนย์ข่าวกรองประจำพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้   เมื่อ   13 มกราคม 2552 ผลการใช้งานได้มีการติดต่อประสานกันอยู่ตลอดเวลาระหว่างคณะวิจัยฯและผู้ปฏิบัติงาน เพื่อหาข้อบกพร่องเพื่อปรับปรุงหุ่นยนต์ให้มีประสิทธิภาพในการใช้งานให้ดียิ่งขึ้น
           ล่าสุด เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2553 ณ ห้องประชุม 9 ตึก 50ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้มีพิธีมอบเงินบริจาค จาก บริษัทลักกี้เฟลม จก. จำนวน 200,000 บาท เพื่อสร้างหุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิดจำนวน 1 ตัว และมีพิธีมอบให้ กลุ่มงานเก็บกู้และตรวจพิสูจน์วัตถุระเบิด กองบังคับการตำรวจปฏิบัติการพิเศษ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อการนำไปใช้งานต่อไป
ภาพต้นแบบหุ่นยนต์ที่ถูกนำไปใช้งานจริง
 




https://www.youtube.com/watch?v=yeREzhxZIGw

วันพฤหัสบดีที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2560

เครื่องจักรกล NC CNC DNC


เครื่องจักรกล ชนิดNC
https://www.youtube.com/watch?v=N75_845ORU8
ความแตกต่างระหว่างระบบ NC กับระบบ CNC
ระบบซีเอ็นซี (CNC) เป็นระบบที่พัฒนาต่อเนื่องมาจากระบบเอ็นซี (NC) ดังนั้น ความแตกต่างระหว่างระบบเอ็นซี (NC) กับระบบซีเอ็นซี (CNC) ก็จะอยู่ที่ความสามารถของระบบควบคุม นั่นคือ คอมพิวเตอร์ เมื่อนำระบบซีเอ็นซีไปควบคุมเครื่องจักรกล ความสามารถในการทำงานต่างๆ จะเพิ่มมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องจักรกลเอ็นซี

1. การแสดงภาพจำลอง (Simulation) การทำงานตามโปรแกรมที่ป้อนเข้าในระบบทางจอภาพ

2. ความจุของหน่วยความจำเพิ่มมากขึ้น สามารถเก็บข้อมูลโปรแกรมได้มาก

3. การแก้ไขและลบโปรแกรมสามารถกระทำได้ที่เครื่องจักรโดยตรง

4. สามารถส่งข้อมูลไปเก็บไว้ที่หน่วยความจำภายนอกได้

5. ระบบความปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น

6. มีการชดเชยความผิดพลาดที่เกิดจากการวัดและการส่งกำลัง

7. มีโปรแกรมสำเร็จสำหรับการคำนวณค่าต่างๆ เช่น ความเร็วรอบ อัตราป้อน เป็นต้น




เครื่องซีเอ็นซีแมชชีนนิ่ง เซ็นเตอร์
ข้อดีของเครื่องจักรเอ็นซีและซีเอ็นซี เมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องจักรกลประเภทอื่นๆ
1. มีความยืดหยุ่นในการทำงานสูง การเปลี่ยนงานใหม่จะแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงเฉพาะโปรแกรมเท่านั้น

2. ความเที่ยงตรง (Accuracy) จะอยู่ระดับเดียวกันตลอดช่วงความเร็วรอบและอัตราป้อนที่ใช้ทำการผลิต

3. ใช้เวลาในการผลิต (Production Time) สั้นกว่า

4. สามารถใช้ผลิตชิ้นงาานที่มีรูปร่างซับซ้อนได้ง่าย

5. การปรับตั้งเครื่องจักรสามารถทำได้ง่าย ใช้เวลาน้อยกว่ากว่าการผลิตด้วยวิธีอื่น

6. หลีกเลี่ยงความจำเป็นที่ต้องใช้ช่างควบคุมที่มีทักษะและประสบการณ์สูง

7. ช่างควบคุมเครื่องมีเวลาว่างจากการควบคุมเครื่อง สามารถที่จัดเตรียมงาานอื่นๆ ไว้ล่วงหน้าได้

8. การตรวจสอบคุณภาพไม่จำเป็นต้องกระทำทุกขั้นตอนและทุกชิ้น


เครื่องจักรกล ชนิด CNC
https://www.youtube.com/watch?v=ivuh8jis43A
CNC (Computer Numerical Control) คือ เครื่องจักรกลที่ใช้ผลิต หรือขึ้นรูปชิ้นงานที่มีมาตรฐานสูง ผ่านระบบการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ช่วยควบคุมการทำงานของเครื่องซีเอ็นซี ในขั้นตอนต่างๆ อย่างอัตโนมัติ แทนการใช้แรงงานคนควบคุมเครื่อง
การควบคุมเครื่องซีเอ็นซี แบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ
1. การควบคุมการเคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งที่ต้องการ (Movement)
2. การควบคุมความเร็วของการเคลื่อนที่ (Speed)

หลักการทำงานของเครื่องจักรกลซีเอ็นซีcnc_3
ครื่องซีเอ็นซี (CNC Machine) มีระบบควบคุมที่ป้อนข้อมูลโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของเครื่องผ่านแผงคีย์บอร์ด / แป้นพิมพ์ (Key Board) หรือเทปแม่เหล็ก (Magnetic Tape) เมื่อระบบควบคุมอ่านโปรแกรมเสร็จ จะนำไปควบคุมให้เครื่องจักรกลทำงาน โดยอาศัยมอเตอร์ป้อน (Feed Motor) เพื่อให้แท่นเลื่อนเคลื่อนที่ตามคำสั่ง เช่น เครื่องซีเอ็นซี จะมีมอเตอร์ในการเคลื่อนที่อยู่ 2 ตัว หรือ เครื่องกัดซีเอ็นซี จะมีมอเตอร์ป้อน 3 ตัว เมื่อระบบควบคุมอ่านโปรแกรมเสร็จ จะเปลี่ยนรหัสโปรแกรมเป็นสัญญาณทางไฟฟ้าเพื่อควบคุมให้มอเตอร์ทำงาน แต่เนื่องจากสัญญาณที่ออกจากระบบควบคุมนี้มีกำลังน้อย ไม่สามารถไปหมุนขับให้มอเตอร์ทำงานได้ ดังนั้น จึงต้องส่งสัญญาณนี้เข้าไปในภาคขยายสัญญาณของระบบขับ (Drive Amplified) และส่งสัญญาณต่อไปยังมอเตอร์ป้อนแนวแกนตามที่โปรแกรมกำหนด ทั้งความเร็วและระยะทาง การเคลื่อนที่ของแท่นเลื่อนจะถูกโปรแกรมไว้ทั้งหมด เพื่อควบคุมเครื่องซีเอ็นซี และมีเครื่องมืออุปกรณ์ที่ตรวจสอบตำแหน่งของแท่นเลื่อนให้ระบบควบคุม เรียกว่า ระบบวัดขนาด (Measuring System) ซึ่งประกอบด้วยสเกลแนวตรง (Liner Scale) มีจำนวนเท่ากับจำนวนแนวแกนในการเคลื่อนที่ของเครื่องจักรกล ทำหน้าที่ส่งสัญญาณไฟฟ้าที่สัมพันธ์กับระยะทางที่แท่นเลื่อนเคลื่อนที่กลับไปยังระบบควบคุม ทำให้สามารถกำหนดและควบคุมการทำงานของเครื่อง
จากหลักการควบคุมการทำงานดังกล่าว ทำให้เครื่องจักรกลซีเอ็นซีสามารถผลิตชิ้นงานให้มีรูปร่าง และรูปทรงให้มีขนาดตามที่เราต้องการได้ เนื่องจากการสร้างและการทำงานที่เหนือกว่าเครื่องจักรกลทั่วไป จึงทำให้เครื่องจักรกลซีเอ็นซีเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญมากในปัจจุบันนี้ หากต้องการผลิตสินค้าให้ได้จำนวนมากๆ และลดจำนวนระยะเวลาการผลิตของสินค้า



เครื่องจักรกล ชนิด DNC
https://www.youtube.com/watch?v=3g_aO-sVDH8
DNC คืออุปกรณ์ใช้สำหรับเชื่อมต่อกับเครื่องจักรให้สามารถส่งข้อมูล G CODE หรือไฟล์ text เพื่อเข้าเครื่องจักร ซึ่งบางเครื่องอาจจะส่งข้อมูลโดยผ่านระบบ RS232 โดยผ่านโปรแกรม dnc link หรือ cimco edite ซึ่งบางครั้งต้องต่อสายระโยงระยางทำให้ไม่สะดวกกับการทำงานหรืออาจจะก่อให้เกิดสัญญาณรบกวนขณะส่ง ท่านจะหมดปัญหานั้นไปเมื่อใช้การส่งข้อมูลด้วยกล่อง  DNCภาพนิ่ง1
กล่อง DNC มีหลักการและขั้นตอนทำงานง่ายโดยการต่อสายกล่อง DNC เข้ากับพอร์ต RS232 หลังจากนั้นนำข้อมูลของท่านเข้า USB และเสียบที่กล่อง DNC ของเราท่านก็สามารถส่งข้อมูลเข้าเครื่องได้แล้วครับภาพนิ่ง2
นอกจากนั้นเรายังมีระบบไวไฟ(wifi) เพื่อรองรับเครื่องจักรที่ต้องการควบคุมด้วยระบบไวไฟ(wifi)ซึ่งช่วยให้ท่านสะดวกในการจัดการข้อมูลและตรวจสอบการทำงานของเครื่องจักรได้อีกด้วย
ภาพนิ่ง3ภาพนิ่ง4ภาพนิ่ง5ภาพนิ่ง6ภาพนิ่ง7

สิ่งที่ชอบ

สิ่งที่ชอบ ดูหนัง ฟังเพลง ดูการ์ตูน ทำงาน ขายของ ขับรถเล่น ชอบทีมนักฟุตบอล เรอัลมาดริด ชอบกินข้าวเครื่องแกงหมู ชอบรถ บิ๊กไบค์

ประวัติส่วนตัว

ชื่อ นายชานุกฤต ศุภจันทะทัง
ชื่อเล่น ต้า
รหัสนักศึกษา 596702039
อาย 21
เพศ ชาย
สิ่งที่ชอบ รถบิ้กไบค์
เบอร์โทร 0950365088
สถานะ มีแฟนแล้ว